ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ยางพารา/ผลงานเด็กเก่ง..น่าชื่นชม

 “ศุภชัย นิลดำ”
             นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ จังหวัดศรีสะเกษ มองเห็นโอกาสในการนำน้ำหมักชีวภาพมาใช้ช่วยทำให้น้ำยางธรรมชาติมีการจับตัวที่ดีขึ้น ทดแทนการใช้สารเคมี และเป็นที่มาของโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง การจับตัวน้ำยางธรรมชาติด้วยน้ำหมักชีวภาพ ที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษมานำเสนอในงาน “มหกรรมการจัดการศึกษาท้องถิ่น ประจำปี 2553” ระหว่างวันที่ 30 กรกฏาคม – 1 สิงหาคมนี้ ที่อาคารชาเลนเจอร์ 2 อิมแพ็ค เมืองทองธานี

             “ศุภชัย นิลดำ” บอกว่า ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกยางธรรมชาติอันดับ 1 ของโลก โดยเฉพาะยางแท่งเอสทีอาร์ 20 ที่มีปริมาณการส่งออกมากที่สุด ประมาณ 80% ในกระบวนการผลิตยางแท่ง STR20 จะใช้ยางก้อนถ้วยเป็นวัตถุดิบหลัก การเตรียมยางก้อนถ้วยโดยทั่วไปจะใช้กรดฟอร์มิกในการจับตัวน้ำยางธรรมชาติ ซึ่งกรดฟอร์มิกมีราคาแพง ต้องนำเข้าจากต่างประเทศและใช้เวลาในการจับตัวนาน อาจก่อให้เกิดความเสียหายในช่วงฤดูฝน อีกทั้งยังเป็นสารพิษที่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

             ดังนั้นหากพัฒนาน้ำหมักชีวภาพจนมีคุณภาพและนำมาใช้ทดแทนกรดฟอร์มิกในกระบวนการกระตุ้นการจับตัวกันของน้ำยางธรรมชาติได้ จะเป็นการช่วยลดต้นทุน และสร้างระบบการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ ทั้งนี้ผลจากการทดลองใช้น้ำหมักชีวภาพทดแทนกรดฟอร์มิกปรากฏว่า น้ำหมักชีวภาพที่สามารถนำมาใช้แทนกรดฟอร์มิก คือ น้ำหมักชีวภาพจากผลไม้ที่มีความเข้มข้น 1.2 และ 4.0%โดยปริมาตร และน้ำหมักชีวภาพจากพืชผักสีเขียวที่มีความเข้มข้น 1.2% โดยปริมาตร ซึ่งน้ำหมักชีวภาพทั้ง 2 ชนิด สามารถจับตัวน้ำยางธรรมชาติได้สมบูรณ์และเร็วกว่าการใช้กรดฟอร์มิกถึง 10 เท่า แม้ที่ความเข้มข้นน้อยกว่า อีกทั้งเร็วกว่าน้ำยางธรรมชาติที่เสียสภาพตามธรรมชาติถึง 360 เท่า
            นอกจากนี้ จากการทดสอบคุณภาพของยางก้อนถ้วยตามมาตรฐานยางแท่งพบว่า ยางที่ได้จากการจับตัวด้วยน้ำหมักชีวภาพมีปริมาณสิ่งสกปรก ปริมาณเถ้า ปริมาณไนโตรเจน และปริมาณสิ่งระเหยใกล้เคียงกับการใช้กรดฟอร์มิก แต่ความอ่อนตัวเริ่มแรก มีดัชนีความอ่อนตัวของยาง และค่าความหนืดที่ดีกว่ายางที่ได้จากการเสียสภาพตามธรรมชาติ เช่นเดียวกับการใช้กรดฟอร์มิก นอกจากนี้ การใช้น้ำหมักชีวภาพกระตุ้นการจับตัวของน้ำยางธรรมชาติเทียบกับการใช้กรดฟอร์มิก สามารถลดต้นทุนลงได้มากกว่า 50%
                                              การใช้น้ำหมักชีวภาพทำยางก้อนถ้วย

"ข้อมูลจาก รายการวิจัยไทยคิด สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม 2553 เวลา 16.05 น. "

ชาวสวนยางขายยาง 3 รูปแบบ คือ

1. น้ำยางสด

2. ยางแผ่นดิบ

3. ยางก้อนถ้วย

* สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร กำหนดมาตรฐานยางก้อนถ้วยที่ดี เป็นยางที่กรีดแล้วปล่อยให้น้ำยางจับตัว

ในถ้วยตามธรรมชาติ หรือใช้น้ำกรดฟอร์มิก กรดอะซิติิก เป็นวิธีที่่ง่ายและใช้เวลาน้อย

*เนื่องจากการทำยางก้อนถ้วยนั้นเกษตรกรจะต้องใช้กรดฟอร์มิกผสมกับน้ำยางพาราเพื่อทำให้ยางสูญเสียความเสถียร และจับตัวกันเป็นก้อน แต่การใช้กรดฟอร์มิกนั้นอาจทำให้ผู้ใช้เกิดอาการแพ้ มีผื่นแดง
การใช้น้ำหมักชีวภาพทำยางก้อนถ้วย เป็นผลงานของ นายศุภชัย นิลดำ และคณะ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ จังหวัดศรีสะเกษ จากโครงการยุววิจัยยางพารา กองทุนสนับสนุนงานวิจัยได้รับรางวัลแกรนด์อวอร์ด อันดับ 4 ของโลก ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จัดทำขึ้นเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพของยางก้อนถ้วย ระหว่างการใช้น้ำหมักชีวภาพกับการใช้กรดฟอร์มิก 2% จับตัวน้ำยาง เลือกสูตรน้ำหมักชีวภาพ 2 สูตร คือ
       1. น้ำหมักพ่อ (ผลไม้ หมักกับกากน้ำตาล)
       2. น้ำหมักแม่  (ผักสีเขียว หมักกับกากน้ำตาล)
       ผลการทดลอง การทำให้น้ำยางพาราจับตัวเป็นก้อน
             - กรดฟอร์มิก ใช้เวลาเฉลี่ีย 50 นาที

             - น้ำหมักชีวภาพ ใช้เวลาเฉลี่ย 2 นาที
น้ำหมักพ่อ เป็นน้ำหมักที่ไดจากผลไม้ (มะละกอ , ฟักทอง , กล้วย) 3 ส่วน + กากน้ำตาล 1 ส่วน

น้ำหมักแม่ เป็นน้ำหมักที่ได้จากผักสีเขียว (ผักบุ้ง , ผักกาด , หน่อไม้ ,หน่อกล้วย , พืชตระกูลถั่ว) 3 ส่วน

+ กากน้ำตาล 1 ส่วน

วิธีการหมัก
            นำแต่ละส่วนหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ประมาณ 1 - 2 นิ้ว เทลงในถัง เทกากน้ำตาลลงไป คลุกเคล้าให้เข้ากันทิ้งไว้ประมาณ 2 ชั่วโมง ปิดฝา แล้วทิ้งไว้ประมาณ 30 วัน ใช้ได้แล้วได้น้ำหมักมาทดลองกับน้ำยางพารา เทียบกับกรดฟอร์มิก เมื่อนำน้ำหมักชีวภาพไปตรวจวิเคราะห์ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม พบว่า กรดที่ได้จากน้ำหมักชีวภาพเป็นกรดอ่อนหลายชนิด เช่น กรดฟอร์มิก กรดแลคติก กรดซิตริก เป็นต้น

             ผลการทดลองไปขยายผล นำไปใช้ในสวนยางพาราพบว่า เกษตรกรชาวสวนยางพึงพอใจ เพราะใช้น้ำหมักชีวภาพแล้วไม่คันมือเหมือนใช้กรดฟอร์มิก มีความปลอดภัย น้ำยางจัดตัวเป็นก้อนรวดเร็ว และไม่มีปัญหากับการรับซื้อ

"ขออนุญาตเผยแพร่ความดีที่น่าชื่นชม"....ขอบคุณเจ้าของเรื่องราวความดี

สาระเล็ก ๆ เกี่ยวกับยางพารา

ธาตุอาหารหลักของยางพารา


สำหรับการทำสวนยางพารารอบแรกจากที่ดินที่เคยเป็นป่ามาก่อน มักพบว่าที่ดินดังกล่าวมีปริมาณธาตุอาหารและอินทรีย์วัตถุมากกว่าพื้นดินที่ปลูกยางพาราในรอบที่ 2 หรือ รอบที่ 3 เนื่องจากในการทำสวนยางพารานั้นพื้นดินได้สูญเสียธาตุอาหารที่สำคัญ ๆ ไปกับทุก 1,000 กิโลกรัมของน้ำยางที่ถูกกรีดและถูกนำออกไปจากสวนยางพารา คือ ธาตุไนโตรเจน 20 กิโลกรัม, ธาตุฟอสฟอรัส 5 กิโลกรัม, ธาตุโพแทสเซียม 25 กิโลกรัม และธาตุแคลเซียม 5 กิโลกรัม (ข้อมูลจากสถาบันวิจัยยาง) การชดเชยหรือการเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินที่ปลูกยางพาราจึงเป็นที่มาของปุ๋ยชนิดต่าง ๆ มากมายในปัจจุบันนี้ "ปุ๋ย" จึงหมายถึง สารอินทรีย์, อินทรียสังเคราะห์, อนินทรีย์ หรือจุลินทรีย์ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือทำขึ้นก็ตาม สำหรับใช้เป็นธาตุอาหารพืชได้ไม่ว่าโดยวิธีใด หรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี กายภาพ หรือชีวภาพในดินเพื่อบำรุงความเติบโตแก่พืช(ตามพ.ร.บ.ปุ๋ย-ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550)

ปุ๋ยซึ่งเกษตรกรชาวสวนยางพาราใส่ให้กับต้นยางพาราในทุก ๆ ปี มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการปลูกสร้างสวนยางพารา ต้นยางพาราที่ได้รับปุ๋ยอย่างเพียงพอก็จะเจริญเติบโตได้เร็ว ทำให้สามารถเปิดกรีดได้เร็ว และสำหรับสวนยางพาราที่เปิดกรีดแล้ว การใส่ปุ๋ยก็จะทำให้เปลือกยางมีความนุ่ม กรีดง่ายจึงกรีดได้เร็วขึ้น และทำให้ผลผลิตน้ำยางสูงสม่ำเสมอ นอกจากนี้การใส่ปุ๋ยยังสามารถลดอาการเปลือกแห้ง หรือลดการเป็นโรคเปลือกแห้งของต้นยางพารา ได้เช่นกัน ปุ๋ยที่นิยมใช้ในสวนยางพาราทุกวันนี้ หากจะแบ่งเป็นประเภท ก็แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

ปุ๋ยอินทรีย์ หมายถึง ปุ๋ยที่ได้หรือทำมาจากวัสดุอินทรีย์ ซึ่งผลิตด้วยกรรมวิธีทำให้ชื้น สับ หมัก บด ร่อน สกัด หรือด้วยวิธีการอื่น และวัสดุอินทรีย์ถูกย่อยสลายสมบูรณ์ด้วยจุลินทรีย์ แต่ไม่ใช่ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยชีวภาพ (ตามพ.ร.บ.ปุ๋ย-ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550)

ปุ๋ยเคมี หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จากสารอนินทรีย์ หรืออินทรียสังเคราะห์ รวมถึง ปุ๋ยเชิงเดี่ยว, ปุ๋ยเชิงผสม และ ปุ๋ยเชิงประกอบ แต่ไม่รวมถึงปูนขาว, ดินมาร์ล, ยิปซัม และ โดโลไมต์ (ตามพ.ร.บ.ปุ๋ย-ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550)

นอกจากนี้แล้วยังมีชนิดของปุ๋ยที่ พ.ร.บ.ปุ๋ย-ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550 กล่าวถึงอีก 2 ชนิด คือ

(1).ปุ๋ยชีวภาพ หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จากการนำจุลินทรีย์ที่มีชีวิตที่สามารถสร้างธาตุอาหาร หรือช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืช มาใช้ในการปรับปรุงบำรุงดินทางชีวภาพ, ทางกายภาพ หรือทางชีวเคมี และให้หมายความรวมถึงหัวเชื้อจุลินทรีย์

(2).ปุ๋ยอินทรีย์เคมี หมายถึง ปุ๋ยที่มีปริมาณธาตุอาหารรับรองแน่นอน โดยมีปริมาณอินทรียวัตถุตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

แม่ปุ๋ย

แม่ปุ๋ย คือ ปุ๋ยเคมีที่ผลิตขึ้นมาด้วยกรรมวิธีทางเคมี ซึ่งจะมีปริมาณธาตุอาหารในสูตรที่เข้มข้นมาก แม่ปุ๋ยไม่มีการใส่สารตัวเติม แม่ปุ๋ยอาจมีธาตุอาหารธาตุใดธาตุหนึ่งหรือมากกว่าเป็นองค์ประกอบก็ได้ เช่น

- แม่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) จะให้ธาตุไนโตรเจนอย่างเดียว

- แม่ปุ๋ยไดแอมโมเนียมฟอสเฟต (18-46-0) จะให้ธาตุไนโตรเจน และฟอสฟอรัสในรูปฟอสเฟตที่เป็นประโยชน์

- แม่ปุ๋ยโปตัสเซียมคลอไรด์ (0-0-60) ก็จะให้ธาตุโปตัสเซียมเพียงธาตุเดียว



ประเภทของปุ๋ยเคมี(แบ่งตามส่วนประกอบของธาตุอาหารหลักที่มีอยู่ในปุ๋ย) ได้ดังนี้

ปุ๋ยเชิงเดี่ยว หมายถึง ปุ๋ยเคมีที่มีธาตุอาหารหลักธาตุเดียว เช่น ปุ๋ยยูเรีย จะมีธาตุไนโตรเจนเพียงธาตเดียว, หรือปุ๋ยโพแทชเซียมคลอไรด์ จะมีธาตุโพแทชเซียมเพียงธาตุเดียว เป็นต้น

ปุ๋ยเชิงผสม หมายถึง ปุ๋ยเคมีที่ได้จากการผสมปุ๋ยเคมีชนิดหรือประเภทต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้ธาตุอาหารตามต้องการ โดยปุ๋ยเคมีนั้นจะต้องมีธาตุอาหารหลัก 2 ธาตุขึ้นไป การผสมจะเป็นเนื้อเดียวกันหรือไม่เป็นเนื้อเดียวกัน( Bulk Blending) ก็ได้ เช่น ปุ๋ยผสมสูตร 30-5-18 หรือ ปุ๋ยผสมสูตร 20-8-20 เป็นต้น

ปุ๋ยเชิงประกอบ หมายถึง ปุ๋ยเคมีที่ทำขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี โดยผสมแบบเป็นเนื้อเดียวกัน (Granular) และมีธาตุอาหารหลักอย่างน้อยสองธาตุขึ้นไป เช่น ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 15-7-18 เป็นต้น

สูตรปุ๋ย

สูตรปุ๋ย คือตัวเลขบอกปริมาณธาตุอาหารหลักทั้ง 3 ธาตุเป็นร้อยละโดยน้ำหนัก โดยต้องเรียงตามลำดับคือ ธาตุไนโตรเจน-ธาตุฟอสฟอรัส-ธาตุโพแทสเซียม เช่น ปุ๋ยสูตร 20 - 8 - 20 หมายความว่า ในปุ๋ยสูตร 20 - 8 - 20 จำนวน 100 กิโลกรัม จะต้องมีธาตุไนโตรเจน จำนวน 20 กิโลกรัม, ธาตุฟอสฟอรัสที่อยู่ในรูปฟอสเฟตที่เป็นประโยชน์ (Available P2O5)จำนวน 8 กิโลกรัม และธาตุโพแทสเซียมในรูปโพแทสที่ละลายน้ำได้ (Water Soluble K2O)จำนวน 20 กิโลกรัม [หมายเหตุ ;ฟอสเฟตที่เป็นประโยชน์ หรือ Available P2O5 คือ ฟอสเฟตที่ละลายน้ำ(Water Soluble) + ฟอสเฟตที่ละลายในกรดซิเตรท(Citrate Soluble)]

อัตราปุ๋ย

อัตราปุ๋ย หมายถึงจำนวนปุ๋ยที่เราใส่ต่อต้น หรือ ต่อไร่ เช่น สวนยางพาราที่เปิดกรีดแล้วควรใส่ปุ๋ยในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี โดยควรแบ่งใส่ 2 ครั้ง ก่อนและปลายฤดูฝน

เรโชปุ๋ย

เรโชปุ๋ย คือตัวเลขที่บอกสัดส่วนขั้นต่ำของธาตุอาหารหลักทั้ง 3 ธาตุในสูตรปุ๋ย เช่น ปุ๋ยสูตร 15-15-15 มีเรโช 1:1:1 เช่นเดียวกับปุ๋ยสูตร 10-10-10 ก็มีเรโช 1:1:1 เช่นกัน ดังนั้น ปุ๋ยที่มีเรโชเดียวกันจึงสามารถใช้แทนกันได้ โดยปรับอัตราปุ๋ยให้ถูกต้องตามสัดส่วน เช่น หากจะใช้ปุ๋ยสูตร 10-10-10 แทนปุ๋ยสูตร 15-15-15 ก็ต้องใส่ปุ๋ยสูตร 10-10-10 ในอัตรา 1.5 เท่าของปุ๋ยสูตร 15-15-15 เป็นต้น

สารตัวเติม

สารตัวเติมหรือสารถ่วงน้ำหนัก หมายถึง สารที่ใส่ในปุ๋ยที่ทำการผสม เพื่อให้ปุ๋ยที่ผสมมีน้ำหนักครบ 100 กิโลกรัม ตามสูตรที่ต้องการ สารตัวเติมหรือสารถ่วงน้ำหนักที่มักใช้กัน เช่น ทราย, ดินมาร์ล หรือ หินฟอสเฟต แต่สำหรับการผสมปุ๋ยเคมีใช้เองไม่จำเป็นต้องใช้สารตัวเติม เพราะเราไม่ต้องการเพิ่มน้ำหนัก

ธาตุไนโตรเจน

โดยธรรมชาติ ธาตุไนโตรเจนในดินจะมาจากการสลายตัวของสารอินทรียวัตถุโดยจุลินทรีย์จะเป็นผู้ย่อยสลายและปลดปล่อยธาตุไนโตรเจนออกมาในรูปของอนุมูลสารประกอบ เช่น แอมโมเนียมไอออน (NH4+) และไนเทรตไอออน (No3-) แต่เนื่องจากในขณะนี้ดินมักมีอินทรีย์วัตถุเหลืออยู่น้อย จึงทำให้ไนโตรเจนในดินมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืชหรือต้นยางพารา เราจึงต้องใส่ปุ๋ยเคมีลงไปในดินเพื่อเพิ่มธาตุไนโตรเจนให้แก่ดินและพืชหรือต้นยางพารา นอกจากนี้ ในความเป็นจริง ธาตุไนโตรเจนมีอยู่อย่างมากมายในอากาศในรูปของก๊าซไนโตรเจน แต่พืชโดยทั่วไปไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เลย ยกเว้น พืชตระกูลถั่ว รวมทั้งพืชคลุมดินตระกูลถั่วด้วย เท่านั้น ที่มีระบบรากพิเศษที่ทำให้สามารถเปลี่ยนรูปก๊าซไนโตรเจนจากอากาศมาเป็นธาตุไนโตรเจนที่ปมรากได้ ซึ่งเรียกขบวนการนี้ว่า “Nitrogen fixation”

ธาตุไนโตรเจน เป็นธาตุที่สำคัญมากในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นยางพาราในระยะก่อนให้ผลผลิต และในระยะที่ต้นยางพาราให้ผลผลิตน้ำยางแล้ว ธาตุไนโตรเจนทำให้ผลผลิตน้ำยางเพิ่มมากขึ้น ธาตุไนโตรเจนจึงเป็นธาตุอาหารที่ต้นยางพาราต้องการตลอดชีวิต ปุ๋ยที่เหมาะสำหรับยางพาราจึงมักเป็นปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูง เช่น 20-8-20, 25-7-7 หรือ 29-5-18 เป็นต้น

ธาตุฟอสฟอรัส

แหล่งที่มาของธาตุฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินมาจากการสลายตัวผุพังของหินแร่ในดิน การสลายตัวของสารอินทรียวัตถุในดินก็สามารถปลดปล่อยฟอสฟอรัสออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชที่ปลูกได้เช่นกัน ธาตุฟอสฟอรัสในดินที่จะเป็นประโยชน์ต่อพืชได้จะต้องอยู่ในรูปของอนุมูลสารประกอบที่เรียกว่า ฟอสเฟตไอออน (H2PO4- และ HPO4-) ซึ่งจะต้องละลายอยู่ในน้ำในดินในความเป็นจริง ธาตุฟอสฟอรัสในดินมักมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่มักละลายน้ำได้ยาก ดังนั้น จึงไม่อาจเป็นประโยชน์กับพืชหรือต้นยางพาราได้ นอกจากนี้ อนุมูลฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้ มักจะทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุต่าง ๆ ในดิน ดังนั้น เมื่อเราใส่ปุ๋ยฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้ลงไปในดิน ประมาณร้อยละ 90 จะทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุในดินกลายเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำยาก จนไม่อาจเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยฟอสเฟต จึงไม่ควรคลุกเคล้ากับดิน เพราะจะทำให้ปุ๋ยฟอสเฟตทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุต่างๆ ในดินได้เร็วขึ้น จึงควรจะใส่ปุ๋ยฟอสเฟตแบบเป็นจุดหรือโรยเป็นแถบให้ถึงระดับบริเวณที่มีรากของยางพาราอยู่ ปุ๋ยฟอสเฟตถึงแม้จะอยู่ใกล้ชิดหรือติดอยู่กับรากของยางพารา ก็จะไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด ดังนั้น ในการปลูกยางพารา เราจึงควรรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหินฟอสเฟต(0-3-0)ก่อน

ธาตุฟอสฟอรัส จะทำให้ระบบรากของพืชและต้นยางพาราในระยะแรก ๆ แข็งแรงแพร่กระจายไปในดินอย่างกว้างขวาง ซึ่งก็จะทำให้สามารถดูดน้ำและธาตุอาหารพืชได้ดี สำหรับพืชอื่น ธาตุฟอสฟอรัส จะช่วยในการออกดอกและติดผลดีขึ้น เร็วขึ้น

ธาตุโพแทสเซียม

ธาตุโพแทสเซียมในดินมาจากการสลายตัวของหินและแร่หลายชนิด โพแทสเซียมที่อยู่ในรูปอนุมูลบวก หรือโพแทสเซียมไอออน (K+) เท่านั้นที่พืชจะดึงดูดไปใช้เป็นประโยชน์ได้ อนุมูลโพแทสเซียมในดินมักพบอยู่รอบ ๆ ผิวของอนุภาคดินเหนียว ดังนั้นดินที่มีเนื้อดินละเอียด เช่น ดินเหนียว จึงมีปริมาณของธาตุโพแทสเซียมสูงกว่าดินที่มีเนื้อหยาบ เช่น ดินทราย หรือดินร่วนปนทราย ถึงแม้โพแทสเซียมไอออนจะดูดยึดอยู่ที่อนุภาคดินเหนียว แต่รากพืชหรือยางพาราก็สามารถดึงดูดธาตุนี้ไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย ๆ พอ ๆ กับเมื่อมันละลายอยู่ในน้ำในดิน

ธาตุโพแทสเซียมมีความสำคัญในการสร้างและการเคลื่อนย้ายอาหารพวกแป้งและน้ำตาลไปเลี้ยงส่วนที่กำลังเติบโต และส่งไปเก็บไว้เป็นเสบียงที่หัวของพืชหรือที่ลำต้น สำหรับต้นยางพาราในระยะเปิดกรีดหรือระยะให้ผลผลิต ธาตุโพแทสเซียมทำให้ผลผลิตน้ำยางเพิ่มมากขึ้น ปุ๋ยที่เหมาะสำหรับต้นยางพาราระยะนี้ คือปุ๋ยที่มีธาตุโพแทสเซียมสูงด้วย เช่น 15-7-18 หรือ 29-5-18 เป็นต้น



การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการเกษตร

ปุ๋ยอินทรีย์เป็นปุ๋ยอินทรีย์ธรรมชาติที่มีปริมาณธาตุอาหารค่อนข้างต่ำ ปุ๋ยอินทรีย์มีหลายชนิด แต่ละชนิดมีปริมาณ ธาตุอาหารแตกต่างกัน ดังนี้

- ปุ๋ยมูลสัตว์ เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากมูลสัตว์ต่างๆ ได้แก่ มูลไก่ มูลเป็ด มูลสุกร มูลโค มูลกระบือ มูลค้างคาว มีปริมาณธาตุอาหารค่อนข้างต่ำ โดยมีไนโตรเจนประมาณ 1.2% มูลค้างคาวมีสูงสุด 3.1% สำหรับฟอสฟอรัสมีความแปรปรวนสูงคือ มีปริมาณฟอสฟอรัสเพียง 0.4% ในมูลโค และ 12.2% มูลค้างคาว ส่วนปริมาณโพแทสเซียมในมูลสัตว์มีปริมาณค่อนข้างใกล้เคียงกันประมาณ 1.5%

- ปุ๋ยหมัก เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการแปรสภาพของเศษซากพืชเป็นส่วนใหญ่ เกิดจากการย่อยสลายของเชื้อจุลินทรีย์หลายชนิด ซึ่งย่อยสลาย

สารอินทรีย์ให้กลายเป็นฮิวมัส ระหว่างการหมักจะเกิดความร้อน ซึ่งจะทำลายเมล็ดวัชพืช จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคแมลง ปุ๋ยหมักที่สลายตัวได้ดีแล้ว

สามารถนำไปใช้กับพืชได้จำนวนมาก แต่ควรคำนึงถึงผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ

- ปุ๋ยพืชสด เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการไถกลบพืชขณะที่สดอยู่ลงในดิน อายุของพืชที่ควรไถกลบจะแตกต่างกันตามชนิดของพืช แต่ควรเป็นพืชที่เจริญเติบโตเร็ว เป็นพืชที่สะสมน้ำหนักแห้งได้สูงให้ปริมาณธาตุไนโตรเจนสูง เมล็ดหาง่าย พืชที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นพืชตระกูลถั่วต่างๆ เช่น ถั่วลาย ถั่วพุ่ม ไมยราพไร้หนาม โสนอินเดีย โสนแอฟริกัน ถั่วพร้า ถั่วมะแฮะ และกระถิน การปลูกพืชตระกูลถั่วเป็นปุ๋ยพืชสดนั้นจะช่วยบำรุงดิน และเพิ่มไนโตรเจนได้มากกว่าการใช้พืชชนิดอื่น เนื่องจากเชื้อไรโซเบียมที่ปมรากของพืชตระกูลถั่วสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศแล้วให้ถั่วได้ใช้

ประโยชน์ ดังนั้นซากถั่วจึงมีไนโตรเจนสูงประมาณ 3-5% เมื่อไถกลบลงในดินจึงปลดปล่อยไนโตรเจนได้มากกว่าซากพืชชนิดอื่น

- ปุ๋ยชีวภาพ หมายถึงปุ๋ยที่มีจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อใส่ลงในดินแล้วทำให้พืชได้รับธาตุอาหารมากขึ้น ปุ๋ยชีวภาพ

ที่แนะนำในปัจจุบัน ได้แก่ ปุ๋ยชีวภาพที่มีเชื้อบักเตรี เช่น ไรโซเบียม มีแบคทีเรียที่สร้างปมที่รากถั่ว ช่วนตรึงไนโตรเจนจากอากาศให้ปุ๋ยไนโตรเจนแก่พืช เชื้อไมโคไรซ่า ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในรากพืชในระบบพึ่งพากันและกัน ส่วนของเส้นใยที่พันอยู่กับรากจะชอนไชเข้าไปในดิน ช่วยดูดธาตุอาหาร

ในดินโดยเฉพาะธาตุฟอสฟอรัสให้เป็นประโยชน์แก่พืช นอกจากนี้ยังป้องกันไม่ให้ฟอสฟอรัสที่ละลายออกมาถูกตรึงโดยปฏิกิริยาทางเคมีของดินด้วย ชนิดที่พบในพืชไม้ยืนต้นและไม้ปลูกป่า เช่น สน รวมทั้งยางพาราด้วย ได้แก่ เอคโตไมโคไรซ่า การใช้ปุ๋ยชีวภาพเป็นแนวทางหนึ่งที่จะทำให้มีการพัฒนา

ด้านการเกษตร ช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้

- น้ำหมักชีวภาพ หมายถึงสารละลายเข้มข้นหรือของเหลวที่ได้จากการหมักพืชหรือสัตว์ในสภาพควบคุมอากาศ และถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์พวกยีสต์ แบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดกรดแลคติก และเชื้อราต่างๆ

3.6 การใช้ปุ๋ยหมักกับยางพารา

โดยทั่วไปสวนยางที่ไม่มีการใส่ปุ๋ยหรือไม่ปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่วระหว่างแถวยาง จะมีระดับของธาตุคาร์บอน ไนโตรเจน และฟอสฟอรัสต่ำ

ถึงปานกลาง แต่สำหรับพื้นที่ป่าเปิดใหม่จะมีระดับของธาตุคาร์บอนและไนโตรเจนสูง และมีการสะสมของธาตุโพแทสเซียมและแมกนีเซียมสูงด้วย สวนยางส่วนใหญ่ของประเทศไทยเป็นสวนยางที่ได้รับการสงเคราะห์ปลูกแทน ดังนั้นเกษตรกรผู้ได้รับการสงเคราะห์ปลูกแทนจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำ ซึ่งสถาบันวิจัยยางแนะนำปุ๋ยเคมีสูตร 20-8-20 และสูตร 20-10-12 สำหรับยางพาราก่อนเปิดกรีดตามปริมาณธาตุอาหารที่ยางพาราต้องการ


          ......จนถึงวันนี้ ก็ยังไม่มีการเริ่มต้นสู่เส้นทางที่เลือก...ยังไม่พร้อมในหลาย ๆ เรื่อง แต่คงอีกไม่นาน....

       ช่วงนี้ก็ต้องเป็นทั้งคนสวนและคนของหลวงไปก่อนละกันนะ
ที่สวนหน้าบ้านมีแก้วมังกรที่ปลูกไว้เพื่อขายเป็นรายได้เสริม ซักประมาณ 100 หลักเห็นจะได้
พอถึงเดือนนี้ก็แข่งกันแตกใบอ่อนดูแล้วสดชื่น สบายตา...
ด้วยความที่เป็นเกษตรกรมือใหม่ต้องหาความรู้เพิ่มเติมอีกมากมาย
ค้นหาไปเรื่อยไปเจอที่ web คุณลุงคิมมีความรู้อยู่ใน web  เยอะแยะ
 จึงเลือกเอามาเผยแพร่สำหรับคนทำสวนที่สนใจเหมือน ๆ กัน...

แก้วมังกร


ดอกบานเต็มที่




















  ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อแก้วมังกร

1. เรียกกิ่งอ่อน

ทางใบ :

- ให้น้ำ 100 ล. + 25-5-5 (400 กรัม) หรือ 46-0-0 (400กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + จิ๊บเบอเรลลิน 10 กรัม + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ ทุก 5-7 วัน

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :

- ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7 (½ กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน

- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :

- เริ่มปฏิบัติหลังจากตัดแต่งกิ่ง

- แก้วมังกรเรียกใบอ่อน (ยอด) ชุดเดียวก็พอ

- ขั้นตอนการเรียกิ่งอ่อนชุดใหม่นี้สำคัญมาก กล่าวคือ ถ้ากิ่งอ่อนชุดใหม่ในต้น (หลัก) เดียวกันออกไม่พร้อมกันทั้งต้น

จะทำให้การออกดอกไม่พร้อมกัน หรือออกไม่เป็นชุด หรือออกแบบทยอยเป็นชุดเล็กชุดน้อย ส่งผลให้ยากต่อการบำรุงเป็นอย่างมาก แนวทางแก้ไข คือ ต้องบำรุงเตรียมต้นตั้งแต่ก่อนตัดแต่งกิ่งให้สมบูรณ์จริงๆไว้ล่วงหน้าเท่านั้น

- หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วัน ถ้าต้นใดแตกกิ่งอ่อนดีน้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ให้ฉีดพ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม เพราะถ้าต้นแตกกิ่งอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลายอย่างตั้งแต่การเร่งกิ่งอ่อนเป็นกิ่งแก่ การสะสมอาหารเพื่อการออก การปรับ ซี/เอ็น เรโช. การเปิดตาดอก ซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น และเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็กลายเป็นผลไม่พร้อมกัน ทำให้ยุ่งยากต่อการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมาก......แก้ไขโดยต้องบำรุงเรียกกิ่งอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ได้

- เมื่อใบอ่อน (ยอด) ยาวประมาณ 30-50 ซม.ให้เข้าสู่ขั้นตอนเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่

2. เร่งกิ่งอ่อนเป็นใบแก่

ทางใบ :

- ให้น้ำ 100 ล. + 0-21-74 (400 กรัม) หรือ 0-39-39 (400 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. +

ฮอร์โมนไข่ 50 ซีซี. + แคลเซียมโบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.ฉีดพ่นพอเปียกใบ 2 รอบ

ห่างกันรอบละ 5-7 วัน

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :

- ให้ 8-24-24 (1/2-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.

- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :

- เริ่มปฏิบัติเมื่อกิ่งที่ต้องการให้ออกดอกยาวประมาณ 30 ซม.

- ขั้นตอนการเร่งกิ่งอ่อนเป็นกิ่งแก่ในแก้วมังกรไม่จำเป็นนัก การปฏิบัติต้องระวังเพราะอาจจะทำให้กิ่งนั้นกลายเป็นกิ่งสั้นแต่แก่จัด แม้ออกดอกติดผลได้แต่ได้จำนวนดอกและผลไม่มาก

- สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ซึ่งมีฟอสฟอรัส.และโปแตสเซียม. นอกจากช่วยเร่งใบให้เป็นใบแก่แล้วยังช่วยเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้ด้วย

- กิ่งหางหนูเรียวเล็กยาวหรือกิ่งปกติแต่ค่อนข้างยาว ถ้าต้องการให้กิ่งนั้นแก่และไม่ยาวต่อไปอีกให้เด็ดปลาย 2-3ข้อทิ้งไป กิ่งนั้นจะไม่เจริญทางยาวแต่เจริญทางข้างจนกลายเป็นกิ่งใหญ่ได้

3. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก

ทางใบ : สูตร 1

- ให้น้ำ 100 ล. + 0-42-56 (400 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.

สูตร 2

- ให้น้ำ 100 ล. + ฮอร์โมนไข่ 50 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ในรอบ 7 วันให้สูตร 1 สลับกับสูตร 2 อย่างละครั้ง ฉีดพ่นพอเปียกใบติดต่อกันอย่างน้อย 1 เดือน

ทางราก :

- ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 หรือ 9-26-26 (½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน

- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :

- เริ่มปฏิบัติเมื่อกิ่งที่ต้องการให้ออกดอกติดผลยาวประมาณ 50-80 ซม.

- ปริมาณการให้ 8-24-24 หรือ 9-26-26 มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการติดผลรุ่นที่ผ่านมา ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลดกมากให้ใส่ตามอัตรากำหนดหรือใส่มากขึ้น ถ้ารุ่นที่ผ่านมาติดผลน้อยหรือไม่ติดเลยให้ใส่ต่ำกว่าอัตรากำหนดหรือใส่ปานกลาง

- แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง 2-2 เดือนครึ่ง

- ปริมาณสารอาหารเพื่อการสะสมตาดอกที่ต้นได้รับจำนวน 3 ใน 4 ส่วน ไปจากดินที่ผ่านการเตรียมมาอย่างดี ส่วนการให้ทางใบเป็นเพียงเสริมเท่านั้น

4. ปรับ ซี/เอ็น เรโช

ทางใบ :

สูตร 1

- ให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-56(400 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+

สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.

สูตร 2

ให้น้ำ 100 ล. + ฮอร์โมนไข่ 50 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ในรอบ 7 วันให้สูตร 1 สลับกับสูตร 2 อย่างละครั้ง ฉีดพ่นพอเปียกใบไม่ให้ตกลงพื้น

ทางราก :

- เปิดหน้าดินโคนต้นให้แสงแดดส่องถึง

- งดให้น้ำเด็ดขาด สวนยกร่องน้ำหล่อจะต้องสูบน้ำออกให้หมด

หมายเหตุ :

- เริ่มปฏิบัติเมื่อได้สะสมอาหารจนต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่และสภาพอากาศเอื้ออำนวย

- ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกกิ่งอ่อนแล้วกิ่งอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้ากิ่งอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช.ต่อไปได้เลย แต่ถ้ากิ่งอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมากก็ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้กิ่งอ่อนชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับกิ่งอ่อนชุดแรกจากนั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช. ทั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอง

- จากประสบการณ์ตรงพบว่าการปรับ ซี/เอ็น เรโช ด้วยวิธีงดน้ำและเปิดหน้าดินโคนต้นนั้นไม่ใช่สิ่งจำเป็น เพราะแก้วมังกรเป็นพืชอวบน้ำ แม้จะงดน้ำอย่างไรใบหรือกิ่งก็ไม่สลด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเน้นที่การบำรุง “สะสมอาหารเพื่อการออกดอก” เป็นหลัก

- ต้นที่มีอาการอั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์สดเพิ่มอีก แต่ถ้าต้นมีอาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ แนะนำให้ฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์ทางใบอีกซ้ำอีก 1 รอบ โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 20-30 วัน

- มาตรการเสริมด้วยให้แสงไฟขนาด 60-100 วัตต์ช่วงหลังพระอาทิตย์สิ้นแสงวันละ 2-3 ชม.และก่อนพระอาทิตย์ขึ้นอีก 1-2 ชม.ติดต่อกัน 1-2 สัปดาห์จะช่วยให้เกิดการสะสมเพิ่ม ซี.และลด เอ็น.ได้มาก

5. สำรวจความพร้อมของต้น

- ก้านใหญ่ สีเปลือกเขียวเข้ม ปลายก้านโค้งมนด้วน

- ตุ่มตาใต้หนามนูนยาวชี้เข้าหากลางกิ่งทั้งสองด้านของกิ่ง

- สีหนามเป็นสีน้ำตาลไหม้หรือดำคล้ำ แข็ง เมื่อใช้ปลายนิ้วสะกิดเบาจะหลุดร่วง

- ตรวจตาด้วยการสุ่มดึงหนามใดหนามหนึ่งขึ้นมาดู ถ้าเนื้อใต้หนามเป็นสีเหลืองแสดงว่าอั้นตาดอกดี แต่ถ้ายังเป็นสีเขียวอยู่แสดงว่าอั้นตาดอกไม่ดี

หมายเหตุ

เริ่มปฏิบัติพร้อมๆกันกับการปรับ ซี/เอ็น เรโช

6. เปิดตาดอก

ทางใบ :

วิธีที่ 1

- ในรอบ 7 วันให้น้ำ 100 ล. + 0-42-56 (400 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1 รอบกับให้น้ำ 100 ล. + ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี. + สาหร่ายทะเล 50 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. อีก 1 รอบ ฉีดพ่นพอเปียกใบ อย่าให้ลงถึงพื้น

วิธีที่ 2

- ใช้ฮอร์โมนเปิดตาดอกแก้วมังกรโดยเฉพาะ โดยใช้ปลายเล็บขูดผิวเปลือกบริเวณตุ่มตา (ใต้หนาม) ออกก่อนแล้วใช้ปลายพู่กันจุ่มฮอร์โมนเข้มข้นทาหรือป้ายบนผิวเปลือกที่ขูดนั้น ฮอร์โมนจะซึมผ่านเข้าสู่ภายในได้ดีขึ้น ใช้ฮอร์โมนป้ายตาอั้นตาดอกเต็มที่แล้ว 2-3 ตา/กิ่ง แต่ละตาห่างกัน 2-3 ข้อ

ทางราก :

- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น

- ยังคงงดน้ำ

หมายเหตุ :

- เริ่มปฏิบัติหลังจากต้นมีอาการอั้นตาดอกเต็มที่และสภาพอากาศพร้อม

- แก้วมังกรตอบสนองต่อปุ๋ยน้ำชีวภาพและฮอร์โมนธรรมชาติ (ทำเอง) ดีมาก การใช้เพียงฮอร์โมนไข่ที่มีสาหร่ายทะเลเป็นส่วนผสมอยู่ด้วยเปิดตาดอกก็สามารถออกดอกได้ ถ้าต้นได้รับการสะสมอาหารเพื่อการออกดอกและปรับ ซี/เอ็น เรโช.มาดี

- ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก 1-2 รอบด้วยสูตรเดิม

หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ

7. บำรุงดอก

ทางใบ :

- ให้ น้ำ 100 ล. + 15-45-15 (400 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + เอ็นเอเอ. 100ซีซี. + ฮอร์โมนไข่ 50 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ ทุก 5-7 วัน

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :

- ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น

- ให้ 8-24-24 (1/2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.

- ให้น้ำเล็กน้อยพอต้นรู้ตัว ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :

- เริ่มปฏิบัติเมื่อดอกขนาดเท่าปลายตะเกียบหรือเมล็ดถั่วเขียว

- ดอกแก้วมังกรบานและต้องการผสมเกสรช่วงกลางคืน (19.00-21.00) โดยลมพัด ถ้าไม่มีลมพัดช่วยส่งละอองเกสรตัวผู้ก็ต้องช่วยผสมด้วยมือ โดยเด็ดดอกแก้วมังกรจากต้นอื่นไปแหย่ใส่ให้กับอีกดอกหนึ่ง โดยให้ละอองเกสรตัวผู้ของดอกที่เด็ดมาสัมผัสกับเกสรตัวเมียของต้นที่เก็บดอกไว้ หรือเก็บเกสรตัวผู้ใส่กล่องพ่นเกสร (ใช้ผสมเกสรทุเรียน-สละ) ฉีดพ่นใส่ดอกที่กำลังบานก็ได้ ผลที่เกิดจากดอกที่ได้รับการช่วยผสมด้วยมือจะเป็นสมบูรณ์และขนาดใหญ่เสมอ

- ดอกแก้วมังกรบานพร้อมผสมแล้วมีฝนตกชุก ผลที่เกิดมาจะเล็กหรือแคระแกร็น

- ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็นหรือระยะดอกตูม บำรุงด้วยฮอร์โมนเอ็นเอเอ. 1 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับผสม แต่ต้องใช้ด้วยระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล

- ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน. 1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี

- ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสัดสมุนไพรบ่อยขึ้น เพื่อป้องกันโรคและแมลงจนถึงช่วงดอกบาน

- ช่วงดอกบานงดการฉีดพ่นทางใบ เพราะอาจทำให้เกสรเปียกชื้นจนผสมไม่ติดได้

- ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะให้ดอกออกมาแล้วไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมากเกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดได้เช่นกัน แก้ไขโดยการสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดิน ทั้งในแปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก.......มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอตั้งแต่เริ่มต้นจะช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก

- เพื่อความมั่นใจในเปอร์เซ็นต์หรือประสิทธิภาพของฮอร์โมน เอ็นเอเอ. แนะนำให้ใช้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ.วิทยาศาสตร์แทนฮอร์โมน เอ็นเอเอ.ทำเองจะได้ผลกว่า

- ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้

- บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ให้เดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้





8. บำรุงผลเล็ก - ผลกลาง

ทางใบ :

- ในรอบ 7 วันให้น้ำ 100 ล. + 21-7-14 (400 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + ไคโตซาน 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :

- นำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ กลับเข้าคลุมโคนต้นอย่างเดิม

- ใส่ยิบซั่มธรรมชาติ 10 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการใส่เมื่อช่วงเตรียมดิน

- ใส่น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14 (½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.

- ให้น้ำปกติ ทุก 2-3 วัน

หมายเหตุ :

- เริ่มปฏิบัติหลังจากกลีบดอกร่วงหรือระยะ 1 สัปดาห์แรก

- เนื่องจากอายุการเจริญเติบโตของผลแก้วมังกรมีระยะสั้นมาก ตั้งแต่ผสมติดถึงเก็บเกี่ยวเพียง 1 เดือนหรือ 4 สัปดาห์เท่านั้น การใส่ปุ๋ยทางรากสูตร 21-7-14 แบบแบ่งใส่ 2-3 ครั้งๆละ 1 กำมือ/สัปดาห์จะได้ผลกว่าการใส่ครั้งเดียว

- ถ้าติดผลดกมากควรให้แม็กเนเซียม. ฮอร์โมน เอ็นเอ. ฮอร์โมนไข่. 1-2 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดช่วงผลขนาดกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากแบกภาระเลี้ยงผลจำนวนมากบนต้น

- ให้จิ๊บเบอเรลลิน 100 กรัม/น้ำ 100 ล. ฉีดพ่น 1 รอบ สามารถแก้อาการผลแตกได้ระดับหนึ่ง แต่หากได้ใช้สลับครั้งกับแคลเซียม โบรอน.จะแก้อาการผลแตกได้แน่นอนยิ่งขึ้น

- ให้ทางใบด้วย ธาตุรอง/ธาตุเสริม 1-2 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดช่วงผลกลางจะช่วยบำรุงขยายขนาดผลให้ใหญ่และเนื้อแน่นขึ้นแต่ เมล็ดมีขนาดเท่าเดิม

9. บำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยว

ทางใบ :

- ให้น้ำ 100 ล. + 0-21-74 หรือ 0-0-50 สูตรใดสูตรหนึ่ง (400 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี หรือ น้ำ 100 ล. + มูลค้างคาวสกัด 100 ซีซี. + ธาตุรอง/ธาตุเสริม100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ก่อนเก็บเกี่ยว ฉีดพ่นพอเปียกใบ

- ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน

ทางราก :

- เปิดหน้าดินโคนต้น

- ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง (1/2-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.

- งดน้ำ

หมายเหตุ :

- เริ่มปฏิบัติก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน

- ระยะเวลาในการบำรุงผลแก่ก่อนเก็บเกี่ยวเพียง 1 สัปดาห์ ให้ 2 รอบห่างกันรอบละ 3-5 วัน จะช่วยให้สีจัดรสดี เนื้อแห้งกรอบ

- ผลแก่แล้วสามารถยืดอายุการเก็บเกี่ยวได้ 7-10 วัน โดยที่ผลแก่จัดมีสีแดงเต็มผลแล้วถ้ายังไม่เก็บเกี่ยว ผลจะเป็นสีชมพูอมแดง (ไม่แดงจัดเหมือนครั้งแรก) แต่คุณภาพภายในผลยังดีเหมือนเดิมหรือดีขึ้นกว่าเดิม

- การบำรุงผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวโดยให้ทางรากด้วย 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแก่รุ่นแรกไปแล้วจะช่วยบำรุงผลชุดหลังต่อ นอกจากนี้ยังทำให้ต้นไม่โทรมเหมาะสำหรับการเตรียมความพร้อมต้นต่อการปฏิบัติบำรุงรุ่นปีต่อไปอีกด้วย


การบังคับแก้วมังกรให้ออกก่อนฤดูกาล

- เดือน ก.ค.- ส.ค. ตัดแต่งกิ่ง เรียกใบอ่อน

- เดือน ก.ย.- ต.ค. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก

- เดือน พ.ย.- ธ.ค. สะสมอาหารเพื่อการออกดอกพร้อมกับให้แสง ไฟขนาด 100 วัตต์ 1

หลอด/4 ต้น ช่วง เวลา 18.00-21.00 น.และ 05.00-06.00 น.

ทุกวัน ตลอด 1 เดือน

- เดือน ม.ค. เปิดตาดอก

- เดือน ก.พ. บำรุงผล

หมายเหตุ :

- การให้แสงไฟวันละ 2-4 ชม.หลังพระอาทิตย์สิ้นแสง ช่วงอากาศหนาว (พ.ย.-ธ.ค.) ต้องใช้ระยะเวลานาน 20-25 วันขึ้นไป แต่ถ้าเป็นช่วงหน้าแล้งใช้ระยะเวลาให้ประมาณ 15-20 วัน ซึ่งดอกที่ออกมาจะดกกว่าช่วงอากาศปกติที่ไม่มีการให้แสงไฟ....ในฤดูกาลปกติถ้ามีการให้แสงไฟก็จะช่วยให้ออกดอกดีและดกกว่าการไม่ให้แสงไฟ

- การบังคับให้ออกนอกฤดูจะสำเร็จได้ ต้นต้องได้รับการบำรุงอย่างดี มีการจัดการปัจจัยพื้นฐานด้านการเกษตร (ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค) อย่างถูกต้องสม่ำเสมอจนต้นสมบูรณ์เต็มที่ และไม่ควรปล่อยให้ออกดอกติดผลในฤดูกาลมาก่อน


ดอกแสนสมบูรณ์



คุณผึ้งช่วยผสมเกสร
 
จะโรยแล้วนะ.....


 




ติดผลแล้ว...

     



ใกล้สุก

เก็บทานได้เลย...หวานฉ่ำ

แอบบอกนิดนึงว่า....
        แก้วมังกรเป็นผลไม้ที่ปลูกและดูแลง่าย ถ้าใครชอบทานก็ปลูกไว้ 2 - 3 หลัก ริมรั้วก็โอ...แล้วล่ะ

วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2553

มะขามเปรี้ยว ที่สวนกำลังให้ผลผลิต

      หลังจากดูแลมาเกือบทั้งปี วันนี้เป็นวันแรกที่ได้เก็บเกี่ยวผลผลิตขายจากสวนมะขามเปรี้ยวฝักใหญ่
มาดูรูปโฉมกันสักหน่อยละกันนะ


มะขามเปรี้ยวฝักดิบ

                   ลูกค้าที่มาซื้อมาจาก จ.อุบลแน่ะ  มาเก็บเองมาถึงตั้งแต่เช้าวันนี้เก็บกันได้ไม่กี่โล
เห็นบอกว่ายังไม่แก่เต็มที่  เรารอชั่งน้ำหนักอย่างเดี่ยวตอนเก็บเสร็จ ขายไป ก.ก. ละ 12 บาท
                          ลูกค้าส่วนใหญ่ซื้อไปแกะเปลือกแล้วนำไปขายต่อที่ตลาดเช้า    หลังจากขายเสร็จ
         ก็จะมาเก็บที่สวนอีกครั้งเพื่อไปแกะอีกในวันต่อไป   จะขายมะขามฝักดิบอยู่อย่างนี้ประมาณ
         2 เดือน  
                         ถ้าใครสนใจจะชมสวนก็แวะมาได้ ยินดีค่ะ    
     
          
         มีรูปมาฝาก....




  

กล้วยไม้..


วันว่าง..
       ขออนุญาตนำรูปกล้วยไม้สวย ๆ

       จากเจ้าของรูป มาโพสไว้....
       สำหรับทุกคนที่รักกล้วยไม้
       อากาศเริ่มหนาวแล้ว
       กล้วยไม้ในโรงเรือนข้างบ้านใคร
       เริ่มโชว์ความงามแล้ว
       แบ่งให้เชยชมบ้างนะคะ...

       ขอบคุณเจ้าของรูปสวยทุกรูปที่นำมาโพสวันนี้ค่ะ


























วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ทักทาย....











....ความจริงแล้วเราเอง เป็นแค่เพียงคนชอบทำการเกษตรแต่ก็ยังไม่รู้เหมือนกันว่า จะสู้ได้แค่ไหน
ทุกวันนี้ก็ยังนั่งตากแอร์รับเงินเดือนประจำ และสวัสดิการจากรัฐอยู่เลย
ตื่น... ตีห้า ทำงานบ้าน เตรียมกับข้าวให้เด็ก ๆ
...หกโมง ปลุกพี่..ตื่นได้แล้วครับลูก
...หกโมงครึ่ง ปลุก(อุ้ม)เจ้าตัวเล็ก (3 ขวบ) ให้ตื่นจากฝันดี
...เจ็ดโมง ส่งเทวดาทั้งสองขึ้นรถรับ-ส่ง
จากนั้นก็ทำงานบ้านต่ออีกนิดหน่อย มองดูนาฬิกาข้างฝา 08.00 น. หยุดทำงานที่บ้านไว้ก่อนนะ
เตรียมตัวไปทำงานประจำ 08.30 หรืออาจจะเลยไปนิด ๆ ถึงที่ทำงาน....
ทำงานการเงิน คิด คิด คิด.... เงินหลวงเศษสตางค์ก็หายไม่ได้เด็ดขาด ส่วนกลางมาตรวจที
ปวดหัวแทบไมเกรนขึ้น งานเอกสารก็เยอะ ระเบียบกฎหมายมากมาย ไหนจะกฎเกณฑ์ของสังคมอีก..
กฎเกณฑ์ของการเป็นลูกน้อง ชั้น วรรณะ เบื่อ มั่ก ๆ จันทร์ถึงศุกร์ ทำงานสำนักงาน เสาร์ อาทิตย์
วันหยุดก็เป็นแม่บ้าน ถ้าพอมีเวลาก็แอบเป็นชาวสวนนิดหน่อย
ลืมบอกไปว่ารายได้หลักของครอบครัวเรามาจากการทำการเกษตร ส่วนงานราชการของเราเป็น
เพียงรายได้เสริม มีพ่อบ้านเป็นคนดูแลงานที่สร้างรายได้หลัก ส่วนเราทำงานประจำจะ 10 ปีแล้วล่ะ
เริ่มเต็มอิ่มกับประสบการณ์หลากหลายในสังคมการทำงานของตัวเองแล้ว ปีที่แล้วแอบคิดนิดนึง
ว่าอยากลาออกจากงานประจำไปเป็นเกษตร แต่ก็ยังไม่พร้อม

ปีนี้ วันนี้ และตอนนี้ ตั้งใจแล้วล่ะนะว่าจะไปเป็นเกษตรกร จะไปเป็นคนทำไร่(มันสำปะหลัง)
ทำสวน(ยางพารา เงาะ ลำไย มะขาม และ...)คงเหนื่อยน่าดู....แดดคงร้อนมาก ๆ ผิวก็คงจะเปลี่ยน
เป็นสีแทนหรือไม่ก็คงเกรียมไปเลย แต่ถึงยังไงก็ได้เป็นเจ้านายตัวเองล่ะนะ(อิ.. อิ..)
1 กันยายน 53 จะยื่นหนังสือขอลากออก แล้วสิ้นปีงบประมาณ 53 นี้
เราก็คงโดนปลดไปเป็นเกษตรกรแล้วล่ะ ใครจะไปยกมือขึ้น
















วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

"คนเราแต่ละคน ย่อมมีข้อบกพร่องที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง
แต่....รอยตำหนิและข้อบกพร่องที่เราแต่ละคนมีนั้น
อาจช่วยให้การอยู่ร่วมกันของเราน่าสนใจ และกลายเป็นบำเน็จรางวัลของชีวิตได้
สิ่งที่ต้องทำก็เพียงแต่ ยอมรับคนแต่ละคนในแบบที่เขาเป็นอยู่
และมองหาสิ่งที่ดีที่สุดในตัวของวกเขาเหล่านั้น...เท่านั้นเอง"
ขอบคุณบทข้อคิด ดี ๆ จากหนังสืออ่านเล่นที่โชว์รูมมาสด้า